Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Portfolio ศิลป์ภาษาแบบไหน ยื่นแล้วผ่านฉลุย !

Posted By Plook Magazine | 07 ต.ค. 65
19,208 Views

  Favorite

สายศิลป์ภาษาอาจจะไม่ได้มีความกดดันสูงมากเท่าสายวิทย์ หรือสายวิทย์-สุขภาพ แต่ในเรื่องของการทำ Portfolio เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะนี่ถือเป็นสิ่งแรกที่กรรมการจะได้รู้จักตัวเรา และรู้สกิลของเรามากขึ้น ฉะนั้นถ้าอยากโชว์ความเป็นเด็กศิลป์ภาษาว่าเราเหมาะกับสาขาหรือคณะนั้นมากแค่ไหน Portfolio ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเปิดโอกาสของเรามากขึ้นเท่านั้น

 

Portfolio คือ การรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ที่บ่งบอกความเป็นตัวเรา เพื่อนำเสนอ แสดงความเป็นตัวตน และโชว์ศักยภาพของตัวเราเอง ให้ผู้อื่นรู้จักเรามากขึ้น บทความที่แล้วเราได้รู้แนวทางในการทำพอร์ตโฟลิโอสำหรับสายวิทย์-สุขภาพกันไปแล้ว ครั้งนี้เราจะมาดูแนวทางการทำพอร์ตโฟลิโอสำหรับสายศิลป์ภาษากันบ้าง ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนอื่นเรามาเริ่มต้นกันที่องค์ประกอบเบื้องต้นของพอร์ตโฟลิโอกันก่อนดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

 

cr. Freepik.com
 

องค์ประกอบของ Portfolio

1. หน้าปก

2. คำนำ

3. สารบัญ

4. ประวัติส่วนตัว

5. ประวัติการศึกษา

6. รางวัลและผลงาน

7. กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม

8. ผลงานหรือชิ้นงานต่าง ๆ

9. ทักษะหรือความสามารถพิเศษอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

เตรียมตัวยังไงบ้าง ?

1. รู้จักตัวเองว่าอยากเรียนอะไร มีความสามารถอะไรบ้าง หรืออยากประกอบอาชีพอะไร

2. รู้ว่าคณะหรือสาขาที่อยากเรียน มีเปิดรับที่ไหนบ้าง

3. ศึกษาข้อกำหนดต่าง ๆ ของแต่ละสาขา แต่ละมหาวิทยาลัย

4. ตามเก็บผลงาน รางวัล หรือกิจกรรมทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับสาขา

 

สำหรับน้อง ๆ สายศิลป์ภาษาที่ยังไม่รู้ว่า เรียนสายศิลป์ภาษาแล้วจะเข้าคณะอะไรได้บ้าง เปิดสอนที่ไหนบ้าง วันนี้เรามียกตัวอย่างสาขาที่เกี่ยวข้องกับศิลป์ภาษาที่น่าสนใจมาให้น้อง ๆ ได้ลองพิจารณากันดูค่ะ เผื่อจะมีเข้าตาบ้าง

 

สายศิลป์ภาษาในความจริงแล้วสามารถเข้าเรียนต่อได้หลากหลายคณะเลย ซึ่งได้แก่

1. พาณิชยศาสตร์และการบัญชี

2. วิทยาการจัดการ

3. มนุษยศาสตร์

4. เศรษฐศาสตร์

5. ศิลปะศาสตร์

6. บริหารธุรกิจ

7. อักษรศาสตร์

8. นิติศาสตร์

9. สังคมสงเคราะห์

10. รัฐศาสตร์

11. นิเทศศาสตร์

12. ศิลปกรรมศาสตร์

13. ครุศาสตร์

14. ศึกษาศาสตร์

15. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม

16. วารสารศาสตร์

17. เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

18. โลจิสติกส์

19. จิตรศิลป์

20. มัณฑนศิลป์

21. ดุริยางคศิลป์

22. โบราณคดี

 

นอกจากนี้ยังมีสาขาต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับภาษาโดยตรง ยกตัวอย่างดังนี้

 

ภาษาตะวันออก

สาขาภาษาจีน ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น

- คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ คณะและสำนักวิชาภาษาจีน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น

 

สาขาภาษาญี่ปุ่น ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

- คณะศิลปะศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์ / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น

 

สาขาภาษาเกาหลี ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

- คณะศิลปะศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานี) เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น

 

สาขาภาษาและวัฒนธรรมพม่า ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

 

สาขาภาษาบาลีและสันสกฤต ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

 

สาขาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (เวียดนาม ลาว เขมร จีน) ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะศิลปะศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น

 

cr. Freepik.com

 

ภาษาตะวันตก

สาขาภาษาอังกฤษ ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

- คณะศิลปะศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น

 

สาขาภาษาฝรั่งเศส ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะศิลปะศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยของแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น

 

สาขาภาษาเยอรมัน ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะศิลปะศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น

 

สาขาภาษารัสเซีย ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

- คณะศิลปศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

 

สาขาภาษาสเปน ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นต้น ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

- คณะมนุษยศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

 

สาขาภาษาอิตาเลียน ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้

- คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

 

cr. Freepik.com

 

เราต้องเตรียมอะไรบ้างในการทำ Portfolio ?

1. รวบรวมภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลงานของเรา

2. รวบรวมเกียรติบัตร เอกสารการรับรองเข้าร่วมกิจกรรม

3. รวบรวมผลงานหรือชิ้นงานที่เคยทำ

4. บางสาขาจะต้องใช้ผลการสอบวัดระดับทางภาษา ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมไว้เพื่อนำมาใส่ในพอร์ตโฟลิโอด้วย

4. วางแผน และออกแบบพอร์ตโฟลิโอ ว่าอยากจะนำเสนอออกมาเป็นแบบไหน

5. เริ่มจัดทำตามแผนที่วางไว้

 

cr. Envato.com

 

Portfolio ที่ดีสำหรับสายศิลป์ภาษา

1. ตรงตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยหรือคณะที่ต้องการเข้า

2. มีรายละเอียดที่แสดงถึงประวัติและผลงานครบถ้วน

3. กระชับ เข้าใจง่าย น่าสนใจ

4. สร้างสรรค์ เห็นแล้วต้องดึงดูดคนให้อยากดูหรืออ่าน

5. ภาษาเป็นสิ่งสำคัญกับเด็กสายศิลป์ภาษามาก ฉะนั้นหากเราต้องการเข้าเอกสาขาภาษาอะไร ก็ควรใส่ภาษานั้นลงไปในพอร์ตโฟลิโอของเราบ้าง

6. สะกดคำได้ถูกต้องทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ

 

Portfolio แบบไหนที่ไม่ควรทำสำหรับสายศิลป์ภาษา

1. ไม่ตรงตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยหรือคณะที่จะเข้า

2. ไม่มีผลงาน หรือผลงานที่ใส่ไม่เกี่ยวข้องกับสายศิลป์ภาษา

3. ข้อมูลเยอะเกินไป หรือน้อยเกินไป ไม่กระชับ ไม่มีการเรียบเรียง

4. ไม่มีความสร้างสรรค์

5. มีแต่ภาษาไทยทั้งเล่ม ไม่มีการใส่ภาษาที่เกี่ยวข้องกับสาขา ทำให้กรรมการไม่เห็นศักยภาพทางภาษาในตัวเราเลย

6. สะกดคำไม่ถูกต้อง

 

ตัวอย่าง Portfolio สายศิลป์ภาษา

 

cr. Dekshowport.com

 

สำหรับการทำ Portfolio สายศิลป์ภาษานั้นไม่ได้ยากจนเกินไป หากเรารู้จักตัวเอง สามารถสร้างสรรค์และเลือกผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขานั้น ๆ ออกมาได้ รับรองว่าจะต้องเป็น Portfolio ที่ดี และสะดุดตากรรมการแน่นอน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การทำ Portfolio เล่มนี้ ทำให้เรามีความรู้สึกว่ามันยากเกินไป นั่นอาจจะหมายความว่า สิ่งนี้ไม่เหมาะกับเราหรือเปล่า เพราะฉะนั้น การสำรวจตัวเองให้แน่ใจเป็นสิ่งสำคัญมาก หากเรามั่นใจและคิดว่านี่คือสิ่งที่เราชอบหรือถนัดจริงก็ลุยได้เลย

 

 

แหล่งข้อมูล

- สรุปให้! ทปอ. แนะวิธีทำ Portfolio ม.6 ทั้งสายวิทย์-สายศิลป์

- ยื่น Port อย่างไรให้ติด ฉบับสายศิลป์

- อยากทำ Portfolio ให้ปัง ฟังทางนี้

- สายศิลป์-ภาษา เรียนคณะไหนได้บ้าง

- เด็กศิลป์ภาษา เรียนต่อสาขาอะไรดี? มีที่ไหนเปิดสอนบ้าง?

 
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
portfolio 
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow